นานาสาระ เกี่ยวกับดิน

'' ค่า PH ในดินแต่ละชนิด ''


              1. ในทางสากลได้จําแนกอนุภาคของดิ นได้3 ชนิด คือ อนุภาคดินทราย ดินทรายแป้ง และดิน
เหนียว โดยกําหนด ว่าอนุภาคของ ดินทรายต้องมีเส้นผ่าศูนย์ กลางใหญ่กว่า 0.02 มม. ดินทรายแป้งมีเส้นผ่าศูนย์ กลางระหว่าง 0.02 มม. ถึง0.002 ซม. และ ดินเหนียวมีเส้นผ่าศูนย์ กลางเล็ กกว่ า0.002 มม

              2. นักปฐพีวิทยาได้แบ่งเนื้อดินออกเป็น 12 ชนิด ดังนี้ คือ ดินเหนียว(clay หรือclayed soil) ดิน
ทราย (sand หรือsandy soil) ดินเหนียวปนทรายแป้ง(silty clay) ดินเหนียวปนทราย(sandy clay) ดินร่วน
ปน ดินเหนียว(clay loam) ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง(silty clay loam) ดินร่วนเหนียวปนทราย(sandy
clay loam) ดินร่วน(loam) ดินร่วนปนทรายแป้ง(silt loam)ทรายแป้ง(silt) ดินร่วนปนทราย(sandy loam)
และดินทรายปนดินร่วน(loamy sand)

              3. ดินที่มีเนื้อละเอียดได้ แก่ ดินประเภทดินเหนียว ดินเหนียวปนทรายแป้ง และดินร่วนปนดิน
เหนียว ดินที่มีเนื้อละเอียดปานกลาง ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วน
ปนทรายแป้ง และทรายแป้ง ดินที่มีเนื้อหยาบ ได้ แก่ ดินประเภทดินทราย ดินร่วนปนทราย และดินทรายปนดินร่วน

             4. เนื้อดินทั้ง12 ชนิด อาจมีวัตถุต้นกําเนิดเช่นเกิดจากตะกอนลํานํ้า ตะกอนทะเล หินชนิดต่างๆที่ผุพังหรือมีสิ่งอื่นปนหรือผสมอยู่ในเนื้อดินแตกต่างกันไป เช่น อินทรียวัตถุ เกลือหรือหินปูน ลูกรัง เป็นต้น

              5. ส่วนดินเหนียวที่ มีลูกรังปน เป็นของกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก เช่นภาคใต้  ภาคตะวันออก เกิดจากตะกอนลํานํ้า หรือวัตถุต้นกําเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กั บที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียดของพวกหินตะกอนเป็นดินร่วนหรือดินเหนียวที่มีลูกรังปนอยู่ หน้าดินตื้นประมาณ 50 ซม. สีดินเป็นสีนํ้าตาลอ่อน สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า pH ประมาณ 4.5-5.5 มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดินได้ง่าย เช่นชุดดินชุมพร คลองชาก หาดใหญ่ เขาขาด หนองคล้า ท่าฉาง ยะลา เป็นต้นหากที่ระดับความลึก 50-100 ซม.เป็นดินเหนียวปนลูกรัง  pH 5-5.5 ได้ แก่ชุดดิน ตราด ตรัง นาทอน โอลําเจียก ปะดังเบซาร์

            6. ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทราย ในระดับความลึก 50-100 ซม. พบชันดินปน
เศษหินหรือลูกรังปริมาณมาก สีดินเป็นสีนํ้าตาล เหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า pH ประมาณ 5.0-5.5 เป็นชุดดินสวี พะโต๊ะ

            7. ดินที่เกิดจากตะกอนลํานํ้า หรือวัตถุต้นกําเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียดของพวกหินตะกอน หรือหินภูเขาไฟ เป็นดินตื้นมาก มีการระบายนํ้าดีหากเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวปนกรวด ลูกรัง หรือเศษหินที่มีเหล็กเคลือบ พบภายในความลึก  50 ซม. สีดินเป็นสีนํ้าตาล เหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า pH ประมาณ 5.0-6.5 เช่นชุดดิน เชียงคาน กบินทร์บุรี สุรินทร์ โป่งตอง

          8. กลุ่มดินที่ เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้า หรือจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบ วางทับอยู่บนชั้นดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินพื้นหรือจากวัตถุต้นกําเนิดดินที่ต่างชนิดต่างยุคกัน       พบบริเวณที่ดอนเป็นดินตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นลูกรัง มีการระบายนํ้าดีปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวปนลูกรังหรือเศษหินทราย พบในความลึกก่อน 50 ซม. สีดินเป็นสีนํ้าตาล เหลืองและก่อนความลึก 100 ซม.จะเป็นชั้นดินเหนียวสีเทา มีจุประสีนํ้าตาลสีแดง และมีศิลาแลงอ่อนปนอยู่มาก อาจพบชั้นหินทรายหรือหินดินดานที่ผุพังสลายตัวแล้วในชั้นถัดไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่าpH ประมาณ 5.0-6.5เช่น ชุดดินโพนพิสัย บรบือ สกล สระแก้ว

          9. จะเห็นได้ว่าหากมีลูกรังปนอยู่ในเนื้อดินแล้ว ดินจะมีสภาพเป็นกรด ตั้งแต่กรดจัดจนถึงกรด
อ่อนและ ดินลูกรัง เป็นดินที่มีชั้นศิลาแลง(laterite เกิดขึ้นมาจากแร่ธาตุที่มีเหล็กผสมอยู่มาก) เกิดขึ้นในหน้าตัดดินซึ่งแสดงให้เห็นว่าขบวนการสลายตัวผุพังต่าง ๆ เกือบสิ้นสุดแล้ว ธาตุอาหารพืชในวัตถุต้นกําเนิดเดิมถูกชะล้างออกไปจากดินหรืออยู่ในรูปที่พืชไม่อาจนําไปใช้ประโยชน์ได้  เป็นดินที่มีปัญหาชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีองค์ประกอบทางกายภาพและทางเคมีไม่เหมาะสมสําหรับทําการเกษตรกรรม เป็นดินตื้น มีกรวด ลูกรังหรือเศษหินปะปนในระดับความลึกของดินบริเวณการเจริญของรากพืชทั่วไป ทําให้จํากัดการชอนไชของรากพืชและเป็นปัญหาในการเขตกรรม ปริมาณเนื้อดินละเอียดมีน้อย มีปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์อยู่น้อย นอกจากนั้นยังมีผลทําให้การชะล้างผิวดินเกิดขึ้นได้ ง่าย

         10. ประเทศไทยมีดินลูกรังเป็นพื้นที่ ประมาณ68,765 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13.4
ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดินนี้อยู่ทางตอนบนของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกและพบเล็กน้อยในภาคกลางและภาคใต้  โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีพื้นที่ถึงร้อยละ 42 ของพื้นที่ดินลูกรังทั่วประเทศ ดินชนิดนี้ตอบสนองต่อการให้ ผลผลิตค่อนข้างตํ่าเมื่อเปรียบเทียบกับดินอื่นๆ

         11. การใช้ประโยชน์ดินลูกรัง แม้ว่าดินเหล่านี้จะถูกจําแนกออกเป็นดินที่มีปัญหา และพื้นที่ที่มี
ศักยภาพในการผลิตทางการเกษตรมีจํากัด แต่ดินเหล่านี้ในบางส่วนได้ ถูกนํามาใช้ ในการปลูกพืชหลายชนิดได้ แก่ ข้าว พืชไร่ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมทั้งไม้ผลและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์  และบางส่วนมักถูกทิ้งรกร้างปล่อยให้ พืชพรรณตามธรรมชาติขึ้นแทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อม และการจัดการเกษตรกรรมถาวรและเกษตรผสมผสานจะเป็นแนวทางของการจัดการ นอกจากนี้การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรจําเป็นต้องมีการใช้ เทคโนโลยี หรือมีการจัดการดินและพืชที่เหมาะสมด้วย ได้แก่ชลประทาน การปรับปรุง คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้ปุ๋ยในรูปที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น